โลโก้หินโคน222

th ไทย en English

 

วิสัยทัศน์

            "คมนาคมสะดวก  เศรษฐกิจพอเพียง  หลีกเลี่ยงอบายมุข  สุขภาพดีถ้วนหน้า  ส่งเสริมการศึกษา  มวลประชาเป็นสุข"

 

ยุทธศาสตร์

            คณะกรรมการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลหินโคนร่วมกับประชาคมท้องถิ่น ส่วราชการรัฐวิสาหกิจรวมทั้งองค์กรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้กำหนดยุทธศาสตร์ขององค์การบริหารส่วนตำบล 8 ด้าน ดังนี้

            ยุทธศาสตร์ที่ 1 ด้านโครงสร้างพื้ฐาน

            ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ

            ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาเกษตรอินทรีย์

            ยุทธศาสตร์ที่ 4 การสร้างสังคมให้มีคุณภาพที่ดีและอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

            ยุทธศาสตร์ที่ 5 การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและพลังงานให้เกิดความสมดุลยั่งยืน

            ยุทธศาสตร์ที่ 6 การบริหารราชการตามหลักการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี

            ยุทธศาสตร์ที่ 7 ตามแผนกระจายอำนาจให้แก่ อปท. ฯลฯ

            ยุทธศาสตร์ที่ 8 การพัฒนาด้านสวัสดิการสังคมและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

 

เป้าประสงค์

            (1) เพื่อก่อสร้าง ปรับปรุง และบำรุงรักษาเส้นทางคมนาคมให้ทั่วถึง และมีประสิทธิภาพ

            (2) เพื่อขุดลอกลำห้วย หนอง คลอง บึงหรือแหล่งน้ำในการอุปโภค-บริโภคและเพื่อการเกษตร

            (3) เพื่อให้มีสาธารณูปโภค-สาธารณูปการ ขั้นพื้นฐานและให้บริการประชาชนอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ

            (4) เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีอาชีพและรายได้เพิ่มขึ้น

            (5) เพ่อส่งเสริมสุขภาพอนามัยของประชาชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี

            (6) เพื่อป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

            (7) เพื่อสนับสนุน และส่งเสริมกิจกรรมด้านศาสนา จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและศิลปะวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น

            (8) เพื่อส่งเสริม และสนับสนุนกิจกรรมการกีฬาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจและสวนสาธารณะ

            (9) เพื่อคุ้มครอง ดูแล และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

            (10) เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรรวมถึงวัสดุอุปกรณ์ให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพที่ดี

            (11) เพื่อให้ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน รวมทั้งการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย การป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติด

            (12) เพื่อส่งเสริมให้เกิดการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ ตอบสนองความต้องการของประชาชนตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

            (13) เพื่อส่งเสริมสนับสนุนและสร้างความร่วมมือกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติหน้าที่

 

ตัวชี้วัด

            (1) จำนวนเส้นทางการคมนาคมที่ได้มาตรฐานและมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น

            (2) ร้อยละประชาชนมีความพึงพอใจต่อผลการดำเนินงานด้านโครงสร้างพื้นฐาน

            (3) ประชาชนมีแหล่งกักเก็บน้ำสำหรับอุปโภค บริโภคและการเกษตรเพิ่มขึ้นและพอเพียง

            (4) ร้อยละของของประชาชนที่มีอาชีพและรายได้เพิ่มขึ้น

            (5) ร้อยละของประชาชนมีสุขภาพอนามัยและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

            (6) ร้อยละของประชาชนและสัตว์เลี้ยงที่เป้นโรคติดต่อลดลง

            (7) ระดับความสำเร็จของการพัฒนาคุณภาพชีวิต และการจัดสวัสดิการ ให้แก่ เด็ก ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยและด้อยโอกาสทางสังคม

            (8) ร้อยละของเด็ก เยาวชน ประชาชนทั่วไปเข้าถึงการศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบการศึกษา

            (9) ระดับความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้การสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมด้านศาสนา จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและศิลปะวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น

            (10) ร้อยละของพื้นที่ปลูกป่าเพิ่มขึ้น

            (11) ร้อยละของปริมาณขยะมูลฝอยลดลง

            (12) ร้อยละของประชาชนมีความพึงพอใจต่อการให้บริการของพนักงานเจ้าหน้าที่ในด้านต่าง ๆ

            (13) ร้อยละของหน่วยงานกอง/สำนักผ่านเกณฑ์การประเมินมาตรฐาน

 

ค่าเป้าหมาย

            (1) ประชาชนได้ใช้เส้นทางคมนาคมที่มีมาตรฐาน ปลอดภัย

            (2) มีแหล่งน้ำพอเพียงต่อการอุปโภคบริโภคและทำการเกษตร

            (3) ประชาชนมีทักษะในการประกอบอาชีพด้านต่าง ๆ

            (4) การศึกษาที่มีคุณภาพและมาตรฐาน และเกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

            (5) ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

            (6) ประชาชนเข้าถึงบริการสาธารณสุข มีสุขภาพแข็งแรง

            (7) ประชาชนได้ร่วมกิจกรรมส่งเสริมประเพณี วัฒนธรรม การท่องเที่ยว กีฬาและนันทนาการของท้องถิ่น

            (8) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีธรรมาภิบาลที่ดี

            (9) ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินมากขึ้น

            (10) สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติได้รับการอนุรักษ์ฟื้นฟู

 

กลยุทธ์

     ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน

            กุลยุทธ์ที่ 1. ก่อสร้าง ปรับปรุง บำรุงรักษาเส้นทางคมนาคมทางบก ทางน้ำ ทางระบายน้ำ

            กุลยุทธ์ที่ 2. การขยายเขตไฟฟ้า ประปา และการบริหารจัดการน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค

            กุลยุทธ์ที่ 3. ก่อสร้าง รื้อถอน ต่อเติม ดัดแปลงอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ

     ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ

            กุลยุทธ์ที่ 1. การพัฒนาและส่งเสริมศักยภาพและขีดความสามารถในการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร

            กุลยุทธ์ที่ 2. การส่งเสริมและเพิ่มทักษะอาชีพของครัวเรือนและกลุ่มอาชีพ

     ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาด้านการเกษตรอินทรีย์

            กุลยุทธ์ที่ 1. การพัฒนาเกษตรอินทรีย์ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง

            กุลยุทธ์ที่ 2. การพัฒนาระบบและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าในผลิตภัณฑ์และสินค้าเกษตร

            กุลยุทธ์ที่ 3. การนำอัตลักษณ์พื้นถิ่น และภูมิปัญญาท้องถิ่นมาเป็นผลลิตภัณฑ์การเกษตร

            กุลยุทธ์ที่ 4. การพัฒนาเกษตรอัจฉริยะ นำเทคโนโลยีแลละนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้

     ยุทธศาสตร์ที่ 4 การสร้างสังคมให้มีคุณภาพที่ดีและอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

            กุลยุทธ์ที่ 1. การพัฒนาด้านคุณธรรมจริยธรรมและวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น

            กุลยุทธ์ที่ 2. การพัฒนาด้านการจัดการศึกษาให้มีความพร้อมทั้งกายภาพและเทคโลโนยี

            กุลยุทธ์ที่ 3. การพัฒนาสาธารณสุข การสร้างสุขภาพ การรักษาพยาบาลการป้องกันและฟื้นฟูสุขภาพประชาชน

     ยุทธศาสตร์ที่ 5 การอนุรักษ์พัฒนาทรัพยากรธรรมชาติแลละสิ่งแวดล้อมและพลังงานเพื่อให้เกิดความสมดุลและยั่งยืน

            กุลยุทธ์ที่ 1. สร้างจิตสำนึกและตระหนักถึงการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

            กุลยุทธ์ที่ 2. การพัฒนาการจัดการสิ่งแวดล้อมและมลพิษต่าง ๆ ในท้องถิ่นและชุมชน

            กุลยุทธ์ที่ 3. การรณรงค์การกำจัดขยะมูลฝอยในชุมชนท้องถิิ่นและการประหยัดพลังงาน

            กุลยุทธ์ที่ 4. การพัฒนาสนับสนุนและส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนและวัสดุประหยัดพลังงาน

     ยุทศาสตร์ที่ 6 การบริหารราชการตามหลักการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี

            กุลยุทธ์ที่ 1. ส่งเสริมศักยภาพของท้องถิ่นในทุก ๆ ด้านตามหลักการบริหารบ้านเมืองที่ดี

            กุลยุทธ์ที่ 2. ส่งเสริมศักยภาพของบุคลากรและองค์กรให้มีขีดความสามารถในการพัฒนา

            กุลยุทธ์ที่ 3. ส่งเสริมระบบบริการประชาชน

            กุลยุทธ์ที่ 4. พัฒนาและจัดระเบียบชุมชน

     ยุทธศาสตร์ที่ 7 ตามแผนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและแนวนโยบายของรัฐบาล ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด และนโยบายผู้บริหาร

            กุลยุทธ์ที่ 1. การพัฒนาภารกิจการถ่ายโอนจากหน่วยงานอื่น

            กุลยุทธ์ที่ 2. การพัฒนาส่งเสริมให้ชุมชนเข้มแข็งห่างไกลจากยาเสพติดและอบายมุข

            กุลยุทธ์ที่ 3. การพัฒนาและส่งเสริมให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี

            กุลยุทธ์ที่ 4. การพัฒนาส่งเสริมให้ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

            กุลยุทธ์ที่ 5. การพัฒนาส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงบริการสาธารณสุข

            กุลยุทธ์ที่ 6. การพัฒนาส่งเสริมและสนับสนุนแนวนโยบายรัฐบาล

     ยุทศาสตร์ที่ 8 ด้านสวัสดิการสังคมและความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

            กุลยุทธ์ที่ 1. พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุอย่างทั่วถึง

            กุลยุทธ์ที่ 2. การสังคมสงเคราะห์ การพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชราผู้ด้อยโอกาส ผู้ติดเชื้อเอดส์ จัดให้มีและพัฒนาศักยภาพ ศพด.

            กุลยุทธ์ที่ 3. ส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนทุกเพศทุกวัย ตั้งแต่เด็กแรกเกิด วัยรุ่น วัยทำงาน และวัยชรา

            กุลยุทธ์ที่ 4. การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย/ความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน/ลดอุบัติเหตุจราจรทั้งทางบกและทางน้ำ

            กุลยุทธ์ที่ 5. เสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในด้านความมั่นคงและความปลอดภัยโดยส่งเสริมและสนับสนุนบทบาทการทำหน้าที่ของตำรวจบ้าน/เจ้าหน้าที่ อปพร.

 

จุดยืนทางยุทธศาสตร์

           (1) การพัฒนาชุมชนให้น่าอยู่มีความเข้มแข็ง โดยได้รับบริการสาธารณะด้านโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นเพื่อรองรับการขยายตัวของชุมชนและเศรษฐกิจ

           (2) การพัฒนาระบบการศึกษาและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น

           (3) ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพคนและความเข้มแข็งของชุมชนในการพึ่งพาตนเองตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

           (4) การกำจัดขยะมูลลฝอย สิ่งปฏิกูลและมลภาวะสิ่งแวดล้อมที่มีอย่างยั่งยืน

           (5) การพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐที่ดีและมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน

 

 

 

นโยบายนายกองค์การบริหารส่วนตำบลหินโคน